รู้จัก 6 รูปแบบ อาหารเสริม สร้างแบรนด์

รู้จัก 6 รูปแบบ อาหารเสริม สร้างแบรนด์

 -รู้จัก!! 6 รูปแบบอาหารเสริม สร้างแบรนด์- 

จากกระแสรักสุขภาพและความสวยความงามในไทยมีเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปัจจุบันเกิดผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในแบรนด์ต่างๆมากมาย ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันออกไป แต่สำหรับผู้ที่อยากสร้างแบรนด์อาหารเสริมแต่ไม่รู้ว่าจะเลือกผลิตแบบไหนดีให้คุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ลูกค้าและผู้ประกอบการเองได้ ยิ่งไปกว่านั้นด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่พัฒนาขึ้นมากทำให้เกิดความหลากหลายมากกว่าที่เคยมี วันนี้แอทซี เลยจะพาทุกๆคนมารู้จักกับ 6 รูปแบบ อาหารเสริม } ที่นิยมในการสร้างแบรนด์ในไทย จะมีรูปแบบอะไรกันบ้าง ไปดูกันเลย


1.อาหารเสริมรูปแบบอัดเม็ด (Tablet)
มีลักษณะนำผงยาและสารสกัดต่างๆ อัดรวมผสมเข้าด้วยกัน ให้มีขนาดปริมาณที่ต้องการ มีหลากหลายรูปแบบ เช่น ทรงกลม ทรงรี ทรงเหลี่ยม เคลือบเม็ดหรือไม่เคลือบ

>ข้อดี

-ออกฤทธิ์รวดเร็ว

-กำหนดเวลาดูดซึมออกฤทธิ์ได้

-เก็บรักษาได้นาน 1-3 ปี

-ควบคุมขนาดของสารสกัดและปริมาณสารได้

-กำหนดรูปทรง ขนาด น้ำหนักได้

 
>ข้อเสีย

-รส และ กลิ่นสัมผัสมากกว่ารูปแบบอื่นๆ อาจะทำให้ขม หรือมีกลิ่นแรง

-ผลิตปริมาณมาก อาจส่งผลต่อค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น กล่อง ฟอยล์แผง เป็นต้น

-รับประทานอยาก สำหรับบางคน อาจะเกิดการสำลัก ติดคอ

-บางแบรนด์มีการทำสารเคลือบหวาน ทำให้กลืนง่าย

 

2.อาหารเสริมรูปแบบแคปซูล (Capsule)
แคปซูลแบบนี้สามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั่วไป มีได้หลากหลายขนาด เปลือกแคปซูลทำมาจากเจลาตินต่างๆ เช่น เจลาตินของสัตว์ ง่ายต่อการกลืน

>ข้อดี

-กลบกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ของสารได้ทั้งหมด

-รับประทานง่าย ลื่นคอ

-ช่วยในการป้องกันความชื้นได้

-มีการดูดซึมสารได้ที่กระเพาะอาหารทันที

-กำหนดขนาด ปริมาณ น้ำหนัก สารสกัดและแคปซูลได้

 
>ข้อเสีย

-แคปซูลส่วนใหญ่ใช้เจลาตินจากสัตว์ ผู้ที่ทานมังสวิรัต อาจไม่สามารถรับประทานได้

-จำกัดในปริมาณในการใส่สารสกัดต่อ 1 หน่วยบริโภค

 

3.อาหารเสริมรูปแบบซอฟเจล (Softgel)
เป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลวเนื่องจากสารบางชนิดไม่สามารถสกัดให้อยู่ในรูปผงแห้งได้ เหมาะสำหรับการบรรจุสารที่เป็นน้ำมัน เช่น น้ำมันปลา น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกคำฝอย รวมทั้งวิตามินที่ละลายในน้ำมัน เช่น วิตามิน A,  D, E, K และสารที่ละลายในน้ำมันเช่น Co enzymeQ10, Lecithin, Lutein เป็นต้น เพื่อสารเหล่านี้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้นนั้นเอง

>ข้อดี

-เปลือกเจลาตินแบบนิ่ม ง่ายต่อการรับประทาน

-ช่วยป้องกันกลิ่นของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้ดี

-ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมของร่างกายให้นำไปใช้ได้ดีขึ้น

-สามารถมั่นใจได้ว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอมภายใน เนื่องจากซอฟเจลจะต้องปิดสนิท ไม่รั่วซึม

 
>ข้อเสีย

-กระบวนผลิตอาศัยเทคโนโลยีที่มีคุณภาพสูง ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการผลิตสูง

-หากเกิดการกดทับ มีโอกาสทำให้เกิดความเสียหายได้ง่ายกว่ารูปแบบอื่นๆ

-คนที่มีปัญหาเรื่องสิว หน้ามัน หรือไขมันส่วนเกิน อาจหลีกเลี่ยงสารที่อยู่ในรูปแบบน้ำ

 

4.อาหารเสริมรูปแบบแคปซูลเซลลูโลส (Vegetarian capsule)
ปราศจากส่วนประกอบที่เป็น ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แป้ง น้ำตาล และสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ ทำมาจากเซลลูโลสและเส้นใยอาหารจากพืช ซึ่งมีความทนทานต่อปัญหาการติดเชื้อราและแบคทีเรีย

>ข้อดี

-แคปซูลทำมาจากเส้นใยของผัก เหมาะกับคนที่เป็นมังสวิรัตหรือไม่รับประทานเนื้อสัตว์

-สามารถเก็บในห้องที่มีอุณหภูมิสูงได้ โดยไม่ละลายหรือเกาะติดกัน

-ไม่มีผลกระทบจากอากาศเย็นและแห้ง


>ข้อเสีย

-ราคาของแคปซูลค่อนข้างสูง

-เก็บนานไม่ค่อยได้ เพราะเปลือกจะเปราะและแตก 

-อาจทำปฏิกิริยากับสารที่อยู่ในแคปซูลเอง

 

5.อาหารเสริมรูปแบบผง (Powder)
สำหรับผสมน้ำเพื่อให้ละลายแล้วดื่ม หรือ กรอกปากกินได้เลย เหมาะสำหรับสารที่ต้องรับประมานในปริมาณมากจึงจะเห็นผล 

>ข้อดี

-สามารถแต่งรสชาติให้ดื่มง่าย อร่อย

-มีฤทธิการดูดซึมได้ดี

-สามารถเพิ่มสารสกัดต่างๆ ได้ตามต้องการได้ในซองเดียว ไม่จำเป็นต้องรับประทานแบบเม็ดครั้งละหลายๆ เม็ด 

 
>ข้อเสีย

-ใส่ได้แต่สารละลายได้ในน้ำ ส่วนสารละลายไขมันต้องผ่านเทคนิคเอนแคปซูเลชั่นให้ละลายน้ำได้จึงจะทำเป็นผงได้

-เก็บให้พ้นจากความชื้น เพื่อลดความเสี่ยงต่อความเสียหาย

-ถ้าผลิตในปริมาณมากส่งผลต่อขนาดและน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ ราคาจะสูงขึ้นตาม

 

6.อาหารเสริมรูปแบบเหลว (Liquid)
เป็นรูปแบบพร้อมดื่ม ready to drink  สะดวก รวดเร็ว พกพาได้ ใช้สำหรับชงผสมกับเครื่องดื่มต่างๆ และเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถกลืนเม็ดแคปซูลหรือเม็ดยาได้

>ข้อดี

-รับประทานง่าย อร่อย สะดวก

-สามารถเก็บรักษาได้นาน

-สามารถเพิ่มสารสกัด ในปริมาณที่ต้องการได้

 
>ข้อเสีย

-จำเป็นต้องเขย่าก่อนดื่ม เพื่อให้สารสกัดทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

-หากอยู่ในพื้นที่โดนแสงแดด หรือ การเปิดดื่มไม่หมดและแช่เย็นไว้ อากาศที่เข้าไป อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของอาหารเสริมได้

- ราคาต่อหน่วยการผลิตค่อนข้างสูง 

 

จากรูปแบบข้างต้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของรูปแบบอาหารเสริมที่นิยมสร้างแบรนด์ แต่ก็มีแบรรด์อื่นๆที่สร้างความแตกต่างด้วยการทำรูปแบบอื่นๆ เช่น แบบเยลลี่ , แบบสเปรย์ , แบบอมใต้ลิ้น , แบบแคปซูลน้ำ และแบบแผ่นปิดฝังใต้ผิวหนัง ซึ่งถ้าใครที่อยากทำการผลิตอาหารเสริมก็ควรที่จะศึกษาให้ละเอียดถึงกระบวนการการผลิต ทุนประกอบการ และความต้องการของตัวผู้ประกอบการเองด้วย 

> สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างแบรนด์อาหารเสริม สามารถปรึกษาการสร้างแบรนด์กับ แอทซี ได้ฟรีที่ Line@ at-ze

 


 
อ้างอิงจาก : kovic,zenbiotech

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้